วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ยานพาหนะพลังไฮโดรเจน

ยานพาหนะพลังไฮโดรเจน (อังกฤษ: Hydrogen vehicle) เป็นยานพาหนะที่ใช้พลังงานจากธาตุไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง คำนี้อาจหมายถึง ยานพาหนะส่วนตัว อย่างเช่น รถยนต์ หรือยานพาหนะประเภทอื่นที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในทำนองเดียวกัน อย่างเช่น เครื่องบิน แหล่งพลังงานของยานพาหนะดังกล่าวจะเปลี่ยนพลังงานเคมีของธาตุไฮโดรเจนเป็นพลังงานกลได้โดยผ่านกระบวนการเผาไหม้ หรือผ่านกระบวนการแปลงปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีของเซลล์กำเนิดไฟฟ้า


ไฮโดรเจนเป็นหนึ่งในสองธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นน้ำ ไฮโดรเจนไม่ใช่แหล่งพลังงานด้วยตัวของมันเอง แต่เป็นตัวนำพลังงาน เนื่องจากมันต้องการพลังงานจำนวนมากในการแตกตัวออกมาจากน้ำ ธาตุไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์กำเนิดไฟฟ้าและแบตเตอรี บริษัทจำนวนมากกำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานไฮโดรเจนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99

ระบบภาพ 3 มิติ


ระบบภาพสามมิติ หรือ สเตอริโอสโคปี หรือ สเตอริโอสโคปิก หรือ ระบบภาพทรีดี หรือ ระบบภาพสามดี (Stereoscopy หรือ stereoscopic imaging หรือ 3-D imaging) เป็นเทคนิคในการสร้างภาวะลวงตา (จากภาพถ่าย หรือ ภาพยนตร์ ที่อยู่บนระนาบสองมิติ แบนๆ ) ให้ดูมีมิติความตื้นลึก (illusion of depth)
หลักการเบื้องต้นคือ ส่งภาพสองมิติ 2 ภาพสำหรับตาแต่ละข้างโดยมีมุมมองต่างกันเล็กน้อย เสมือนกับที่สองตาของคนเห็นภาพตามธรรมชาติ
การถ่ายภาพ 3 มิติถูกนำมาใช้ในการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ (photogrammetry) และเพื่อความบันเทิง โดยทำเป็นภาพสามมิติ (ภาพสเตอริโอแกรมส์, stereograms) ซึ่งดูด้วยกล้องดูภาพสามมิติ (สเตอริโอสโคป, stereoscope)

การถ่ายภาพสามมิติมีประโยชน์ในการดูภาพเห็นมิติตื้นลึก ภาพถ่ายสามมิติในการอุตสาหกรรมสมัยใหม่อาจใช้เครื่องสแกนภาพ 3 มิติ (3D scanners) สำหรับสแกนและบันทึกข้อมูล 3 มิติ ข้อมูลความลึกสร้างจากภาพ 2 ภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ด้วยการใส่จุดภาพสมนัยลงบนภาพซ้ายและภาพขวา

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4

กาารทำเหมืองแร่

การทำเหมืองแร่ คือการสกัดเอาแร่ที่มีค่า หรือ วัสดุทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากใต้ผืนแผ่นดิน ปกติขุดที่ตัวแหล่งแร่หรือสายแร่ที่อยู่ใต้ดิน วัสดุทั่วไปที่สกัดได้ แร่โลหะ ได้แก่ บอกไซต์ (สำหรับหลอมเป็นอะลูมิเนียม) ทองแดง เหล็ก ทองคำ ตะกั่ว แมงกานีส แมกนิเซียม นิเกิล ฟอสเฟต แพลทินัม เงิน ดีบุก ไททาเนียม ยูเรเนียม สังกะสี แร่อโลหะ เช่น เกลือหิน ถ่านหินและ แร่รัตนชาติ เช่น เพชร พลอย

วัสดุมีค่าอื่นๆ ที่มีการทำเหมืองเช่นกันได้แก่ ดินเหนียว ดินขาว ทราย กรวด หินแกรนิต หินปูนและหินอ่อน วัสดุอื่นใดที่ไม่สามารถผลิตจากพืชจะมากจากการทำเหมือง การทำเหมืองในความหมายที่กว้าง รวมถึงการขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่น้ำบาดาล

อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย เพราะหากเราไม่มีการนำทรัพยากรในประเทศมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการนำเข้าแร่จากต่างประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดดุลด้านการค้า และการนำเข้าแร่โดยทั่วไปจะแร่ที่นำเข้าจะมีราคาที่สูงกว่าแร่ที่ผลิตได้ในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเมื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์นั่นหมายถึงราคาสินค้าย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย หากมีการทำเหมืองแร่ในประเทศ เพื่อผลิตแร่ที่สำคัญมาใช้ประโยชน์จะเป็นการทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรม และหากมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องในการนำทรัพยากรแร่มาใช้ในการผลิตอย่างครบวงจร ก็จะเป็นการสร้างงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาลกว่าการนำแร่ดิบขายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนให้เกิดขึ้น

การทำเหมืองแร่ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองแร่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ๆ มีการทำเหมืองแร่ แต่การทำเหมืองแร่ไม่ได้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม หากผู้ทำเหมืองปฏิบัติตามหลักวิชาการ ซึ่งการทำหมืองแร่ตามหลักวิชาการ จะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์แร่ ทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเหมืองแร่ทุกประเภทและทุกขนาดต้องมีการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากนี้ เหมืองแร่จะเกิดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการยอมรับของสังคม หรือชุมชนที่มีเหมืองแร่อยู่บริเวณใกล้เคียง

เหมืองแร่ในอดีตมักก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุนทรียภาพ ซึ่งพบเห็นได้ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดจิตสำนึก ขาดความรู้ ขาดกฎหมายควบคุม และเหมืองในอดีตอยู่ห่างไกลเมืองมาก แต่ปัจจุบันเรามีกฎหมายควบคุม มีหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งกำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องดูแลป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง และทำการฟื้นฟูสภาพ (Reclamation) ซึ่งปกติมีงานภูมิสถาปัตยกรรมเป็นส่วนสำคัญ หากจะเป็นปัญหาปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องจิตสำนึก การลักลอบทำเหมืองผิดกฎหมาย การสอดส่องดูแลของเจ้าหน้าที่ๆอาจไม่ทั่วถึง การบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น ตัวอย่างที่ดีของการทำเหมืองแร่ในประเทศไทยได้แก่เหมืองแม่เมาะ ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

โดยทั่วไปเราจำแนกการทำเหมืองแร่ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
เหมืองผิวดิน (Surface Mining)
เหมืองใต้ดิน (Underground Mining)
ซึ่งหากแบ่งออกเป็นประเภทของการทำเหมืองแร่ สามารถแบ่งได้ดังนี้

ประเภทของการทำเหมืองแร่
เหมืองครา (Hill mining)
เหมืองปล่อง (Driffing)
เหมืองหาบ (Opencast or Open Pit Mining)
เหมืองแล่น (Ground Slucing)
เหมืองสูบ (Gravel Pumping)
เหมืองฉีด (Hydraulicking)
เหมืองเจาะงัน (Gophering Hole)
เหมืองเรือขุด (Dredging)
เหมืองเรือสูบ (Sucking Boat)
เหมืองละลายแร่ (Solution Mining)
เหมืองอุโมงค์/เหมืองใต้ดิน (Underground Mining)


ปัจจุบัน หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการเหมืองแร่ของประเทศไทย คือ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม

ที่มา  :  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B9%88

รถจักรไอน้ำ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รถจักรไอน้ำ

รถจักรไอน้ำ (Steam locomotive) เป็น รถไฟในยุคแรกที่ใช้กลไกของแรงดันไอ (น้ำ) ในการผลักดันให้ล้อรถหมุนและทำให้รถเคลื่อนที่ ซึ่งในปัจจุบันรถจักรประเภทนี้แทบไม่มีใช้ให้เห็นกันแล้ว

ที่มาของรถจักรไอน้ำ
หลังจากปี ค.ศ. 1768 เจมส์ วัตต์ (James Watt) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษสามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จได้มีนักประดิษฐ์จำนวนมากนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรชนิดต่างๆมากมาย แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ วิชาร์ดทราวิค (Richard Travick) วิศวกรชาวอังกฤษที่ได้ทำการสร้างรถจักรไอน้ำเป็นผลสำเร็จ ซึ่งรถจักรไอน้ำนี้ยังเป็นล้อธรรมดาและวิ่งบนถนนอยู่ ต่อมาทางเหมืองแร่ที่ จอร์จ สตีเฟนสัน : George Stephenson ทำงานอยู่ได้นำรถจักรไอน้ำนี้มาใช้ในการขนถ่านหิน แต่รถจักรของวิชาร์ดทราวิคนั้นยังมีข้อเสียอยู่หลายอย่างทั้งเรื่องความเร็ว และยังทำความเสียหายแก่ถนนเพราะน้ำหนักการบรรทุกที่มาก จึงได้มีการสร้างรางเหล็กให้รถจักรนี้วิ่งซึ่งเป็นการกำจัดปัญหาการทำให้ถนนพัง แต่เมื่อมีการวิ่งรถบนรางแล้วรถจักรก็ ยังคงตกรางอยู่บ่อยๆ จึงได้มีการปรับปรุงล้อรถจักรเสียใหม่ จากเดิมที่เป็นล้อธรรมดาก็ให้เปลี่ยนเป็นล้อเหล็กและมีร่องสำหรับ วิ่งบนรางเหล็กอีกด้วย


ต่อมา จอร์จ สตีเฟนสัน ได้นำรถจักรนี้ไปพัฒนาให้มีความเร็วมากยิ่งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1814 รถจักรของสตีเฟนสันมีตัวถึงเป็นไม้ มีล้อเหล็ก 4 ล้อ วิ่งได้ 4 ไมล์ต่อชั่วโมงสามารถลากรถถ่านหินได้ถึง 30 ตัน สตีเฟนสันตั้งชื่อรถของเขาว่า บลูเซอร์ (Blueser) ระหว่างนั้นเองเอ็ดเวิร์ด พิส (Edward Piss) ได้สร้างทางรถไฟจากเมืองสตอคตัน (Stockton) ไปยังเมืองดาร์ริงตัน (Daringtion) สตีเฟนสันจึงได้นำรถจักรของเขาไปเสนอแก่พิสเพื่อหวังให้พิสเห็นดีกับรถของเขาและให้การสนับสนุน ซึ่งมันก็เป็นอย่างที่เขาคิด พิสสนับสนุนเขาในการสร้างหัวรถจักรด้วยเงินเดือนปีละ300ปอนด์และรถจักรไอน้ำก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นจนทำให้บรรดาเจ้าของรถม้าที่เสียผลประโยชน์ไม่พอใจ และทำการขัดขวางการทำงานของสตีเฟนสันอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งรัฐบาลอังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยรถจักร จึงประกาศใช้กฤษฎีกาใช้สร้างทางรถไฟขึ้นในปี ค.ศ. 1826 ระหว่างเมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ถึงเมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ซึ่งการสร้างทางรถไฟสายนี้มีความยากลำบากมากแต่ในที่สุดสตีเฟนสันก็สามารถสร้างทางรถไฟจากแมนเชสเตอร์ไปถึงเมืองลิเวอร์พูลได้สำเร็จ กิจการรถไฟจึงเป็นที่นิยมมากขึ้น และเริ่มแพร่ขยายตัวไปยังเมืองต่างๆในอังกฤษ ในขณะเดียวกันก็เริ่มแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/

วงโคจรของดาวเทียม

วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbit) เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น 3 ระยะคือ

วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit "LEO")
คือระยะสูงจากพื้นโลกไม่เกิน 2,000 กม. ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ตลอดเวลา เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง แต่จะสามารถบันทึกภาพคลุมพื้นที่ตามเส้นทางวงโคจรที่ผ่านไป ตามที่สถานีภาคพื้นดินจะกำหนดเส้นทางโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก (Polar Orbit) ดาวเทียมวงโคจรระยะต่ำขนาดใหญ่บางดวงสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลาค่ำ หรือก่อนสว่าง เพราะดาวเทียมจะสว่างเป็นจุดเล็ก ๆ เคลื่อนที่ผ่านในแนวนอนอย่างรวดเร็ว

วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO")
อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่ 5000-15,000 กม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยา และสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะพื้นที่ได้ แต่หากจะติดต่อให้ครอบคลุมทั่วโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในการส่งผ่าน...

วงโคจรประจำที่ (Geosynchonus Earth Orbit "GEO")
เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ อยู่สูงจากพื้นโลก 35,786 กม. เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดูเหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือ จุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า")

ดาวเทียมจะอยู่กับที่เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกันกับเส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,768 กม. วงโคจรพิเศษนี้เรียกว่า วงโคจรค้างฟ้าหรือ วงโคจรคลาร์ก” (Clarke Belt) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ผู้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวงโคจรนี้ เมื่อ เดือนตุลาคม ค.ศ. 1945


วงโคจรคลาร์ก เป็นวงโคจรในระนาบเส้นศูนย์สูตร (EQUATOR) ที่มีความสูงเป็นระยะที่ทำให้ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากันกับการหมุนของโลก แล้วทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมีค่าพอดีกับค่าแรงดึงดูดของโลกพอดีเป็นผลให้ดาวเทียมดูเหมือนคงอยู่กับที่ ณ ระดับความสูงนี้ ดาวเทียมค้างฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ เช่น ดาวเทียมอนุกรม อินเทลแซต ๆลๆ

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1

ประวัติของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


อุปกรณ์ได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการคำนวณเป็นพันๆปีมาแล้ว ครั้งแรกน่าจะเป็นในรูปแบบของไม้หรือติ้วเพื่อบันทึกการนับ กลไก Antikythera สืบมาจากจุดเริ่มต้นของศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริศตศักราชโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่าเป็น คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อกที่ใช้กลไกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกัน และกลไกที่ใช้เฟืองที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกัน อุปกรณ์ที่ใช้เฟืองทีสามารถเทียบได้ไม่ได้เกิดขึ้นใน ยุโรปจนถึงศตวรรษที่ 16 และมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งปี 1645 ที่เครื่องคิดเลขกลไกตัวแรกที่มีความสามารถในการดำเนินการคำนวณทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานทั้งสี่ได้รับการพัฒนา

คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้รีเลย์หรือวาล์ว เริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1940 เครื่องกลไฟฟ้า Zuse Z3, เสร็จสมบูรณ์ใน ปี ค.ศ.1941, เป็นคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมได้เครื่องแรกของโลก และตามมาตรฐานที่ทันสมัย เป็น​​หนึ่งในเครื่องแรกที่อาจถูกพิจารณาว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์แบบเครื่องหนึ่ง เครื่อง Colossus, ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อถอดรหัสข้อความภาษาเยอรมัน, เป็นคอมพิวเตอร์ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ตัวแรก แม้ว่ามันจะโปรแกรมได้ มันก็ไม่ได้ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป มันถูกออกแบบมาเพื่อทำงานเพียงงานเดียว มันยังขาดความสามารถในการจัดเก็บโปรแกรมในหน่วยความจำอีกด้วย การเขียนโปรแกรม สามารถทำได้โดยใช้ปลั๊กและสวิทช์เพื่อเปลี่ยนแปลงการเดินสายไฟภายใน คอมพิวเตอร์ที่เก็บโปรแกรมได้แบบดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยและได้รับการยอมรับตัวแรก คือ Manchester Small-Scale Experimental Machine (SSEM) ซึ่งเริ่มใช้โปรแกรมแรกในวันที่ 21 มิถุนายน 1948

การพัฒนาของทรานซิสเตอร์ในปลายปี ค.ศ. 1940 ที่ ห้องปฏิบัติการ Bell ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบรุ่นใหม่ใช้พลังงานที่ลดลงอย่างมาก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บโปรแกรมได้ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ตัวแรกชื่อ Ferranti Mark I ประกอบด้วย วาล์ว 4,050 ตัวและมี การใช้พลังงาน 25 กิโลวัตต์ เมื่อเปรียบเทียบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ตัวแรก, ที่ถูกพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยแห่งแมนเชสเตอร์และเปิดใช้งานในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1953, บริโภคพลังงานเพียง 150 วัตต์ในรุ่นสุดท้ายของมัน

โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกรอบงานบูรณาการภายใต้เครือข่ายดิจิตอลทำงานอยู่ โครงสร้างพื้นฐานนี้ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูล, เครื่องคอมพิวเตอร์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์จัดการฐานข้อมูลและระบบการกำกับดูแล

ในเทคโนโลยีสารสนเทศและบนอินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานเป็นฮาร์ดแวร์ทางกายภาพที่ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายตัวและผู้ใช้หลายคน โครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยสื่อการส่งผ่าน, รวมทั้งสายโทรศัพท์, สายเคเบิลทีวี, ดาวเทียมและเสาอากาศ และยังมีเราเตอร์หลายตัว ที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเทคโนโลยีการส่งผ่านทั้งหลายที่แตกต่างกัน

ในการใช้งานบางครั้ง โครงสร้างพื้นฐานหมายถึงการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ และไม่ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบางคน โครงสร้างพื้นฐานถูกมองว่าเป็นทุกอย่างที่สนับสนุนการไหลและการประมวลผลของข้อมูล


บริษัทโครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอินเทอร์เน็ต พวกเขามีอิทธิพลว่าที่ไหนบ้างต้องมีการเชื่อมโยง, ที่ไหนบ้างที่ข้อมูลจะต้องถูกทำให้สามารถเข้าถึงได้ และ จำนวนข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้และทำได้รวดเร็วได้อย่างไร

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8